รู้จัก Windows Server Semi-Annual Channel:สำหรับ Cloud & DevOps

รู้จัก Windows Server Semi-Annual Channel:สำหรับ Cloud & DevOps

        เมื่อเร็วๆ นี้ทาง Microsoft ได้ทำการปล่อย Microsoft Windows Server version 1709 ออกมาในฐานะของ Windows Server Semi-Annual Channel รุ่นแรก เพื่อเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ Server ที่จะเป็นอีกทางเลือกนอกจาก Windows Server 2016 ที่เราคุ้นเคยกัน ทางทีมงาน TechTalkThai เห็นว่า Windows Server รุ่นนี้มีอะไรเปลี่ยนไปจาก Windows Server 2016 อยู่เยอะพอสมควร จึงขอนำมาสรุปเรียบเรียงให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทำความรู้จักกับเจ้า Windows Server Semi-Annual Channel ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

จุดกำเนิดของ Windows Server Semi-Annual Channel: Microsoft ต้องการระบบปฏิบัติการฝั่ง Server สำหรับ Cloud โดยเฉพาะจริงๆ แล้ว

        ที่ผ่านมาตลาด Server นั้นตกเป็นของ Linux ซะมาก และยิ่งเติบโตรวดเร็วขึ้นไปอีกจากการมาของ Container ทำให้ Microsoft เองเห็นว่าตัวเองต้องเริ่มปรับเข้าสู่ทิศทางนี้ของตลาดแล้ว แต่เนื่องจาก Windows Server 2016 เดิมที่มีอยู่นั้นก็มีฟีเจอร์จำนวนมากสำหรับสนับสนุนการใช้งานภายในองค์กรและการรองรับ Traditional IT การจะปรับมารองรับตลาดนี้แล้วทิ้งฟีเจอร์เดิมๆ ไปนั้นก็คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก ทำให้โครงการ Windows Server Semi-Annual Channel ถือกำเนิดขึ้นมา

        Windows Server Semi-Annual Channel นี้ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อให้รองรับการทำงานบน Cloud ได้โดยประหยัดทรัพยากร อีกทั้งยังเน้นแนวคิดเรื่องของการอัปเดตให้ได้ถี่ที่สุดเพื่อให้ Windows Server สามารถมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ตอบรับต่อความต้องการใหม่ๆ ในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ยังคงบริหารจัดการผ่านเครื่องมือเดิมๆ ที่มีอยู่ได้ ทำให้เหล่าผู้ดูแลระบบไม่ต้องปรับตัวมากจนเกินไปนัก

        นอกจากนี้ Microsoft ยังได้ทำการพัฒนา Server Core และ Nano Server ให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมไปอีกสำหรับบน Windows Server Semi-Annual Channel โดย Nano Server ใน Windows Server Semi-Annual Channel จะเล็กลงจาก 390MB เหลือเพียง 80MB เท่านั้น รวมถึงยังรองรับการทำ Linux Containers ได้ผ่านทาง Hyper-V Isolation ทำให้ Windows Server Semi-Annual Channel รองรับการทำ Container ได้ครบทุกระบบปฏิบัติการที่เหล่านักพัฒนาต้องการ

รอบอัปเดตต่างจาก Windows Server 2016 ชัดเจน

        หากใครติดตาม Microsoft มาในระยะหลังๆ นี้ เราจะเริ่มเห็นได้ว่า Microsoft พยายามผลักดันให้ Cycle ในการออก Release ใหม่ๆ ของแต่ละผลิตภัณฑ์สั้นลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Windows 10 ที่จะมี Release ใหญ่ปีละ 2 รอบ และในครั้งนี้ Windows Server เองก็พยายามจะนำแนวคิดนั้นมาใช้บ้าง ทำให้เกิดเป็น Windows Server Semi-Annual Channel ขึ้นมา

        อย่างไรก็ดี Microsoft ไม่สามารถทิ้งลูกค้าองค์กรกลุ่มเดิมๆ ได้ ดังนั้น Windows Server Semi-Annual Channel นี้จึงจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่คู่ขนานไปกับ Windows Server 2016 ที่มีความแตกต่างกันในแง่ของรอบอัปเดต และเทคโนโลยีพื้นฐานที่มากับระบบ เพื่อรองรับรูปแบบการนำไปใช้งานที่ต่างกันนั่นเอง

        Windows Server 2016 ที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นจะถูกเรียกว่าเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่ม Long-term Servicing Branch ที่จะออก Release ใหญ่ทุกๆ 2-3 ปี โดยมีการสนับสนุนหลักๆ อยู่ที่ 5 ปี และขยายต่อได้อีก 5 ปี รวมถึงมีบริการพิเศษสำหรับสนับสนุนต่อไปอีก 6 ปีภายใต้ชื่อ Premium Assurance

         ส่วน Windows Server Semi-Annual Channel นี้จะเป็นผลิตภัณฑ์อีกกลุ่มที่ถูกออกแบบมาตอบโจทย์ตลาด Cloud ดังนั้นจึงต้องมีการปรับตัวที่ค่อนข้างเร็ว และจะมี Release หลักปีละ 2 รอบ โดยแต่ละ Release จะมีรอบการสนับสนุนอยู่ที่ 18 เดือน เป็นการบังคับกลายๆ ให้ผู้ใช้งานต้องทำการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง หรือเปลี่ยนไปใช้ Container เพื่อให้อัปเดต Infrastructure แล้วค่อยย้ายระบบไปแทน

         ชื่อรุ่นของ Windows Server Semi-Annual Channel นี้จะตั้งตามปีและเดือนที่ถูกปล่อยออกมา เช่น Windows Server 1709 นี้ก็ถูกปล่อยออกมาในปี 2017 เดือน 9 เป็นต้น ส่วนรุ่นถัดไปคือ Windows Server 1803 ก็จะถูกปล่อยออกมาปี 2018 เดือน 3 นั่นเอง

Windows Server version 1709 เน้นรองรับ Container, DevOps เป็นหลัก เตรียมตัด GUI ทิ้ง

ภายใน Windows Server version 1709 ได้มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้

  • รองรับ Nano Container และ Server Core Container อย่างเต็มตัว
  • รองรับ Server Core as a Container and Infrastructure แล้ว
  • ปรับปรุง VM Load Balancing ให้ดีกว่าเดิม โดยมี OS Awareness และ Application Awareness เพิ่มเข้ามา
  • สนับสนุน Storage-class Memory ให้กับ VM โดยรองรับการใช้ Non-volatile DIMM ต่อตรงแบบ Direct Access เข้ากับ Hyper-V VM ได้
  • รองรับ Virtualized Persistent Memory (vPMEM)
  • รองรับ Persistent Storage สำหรับ Container ด้วย Clustered Shared Volumes (CSV) และ SMB Global Mapping
  • พยายามตัด Desktop UI ออก ให้ผู้ใช้งานบริหารจัดการผ่านทาง PowerShell, API และ Project Honolulu บน Browser แทน
  • ทำการเข้ารหัส Network ได้ตาม Segment
  • รองรับการใช้ Host Guardian Service (HGS) ใน Shielded VM แล้ว
  • สนับสนุนการใช้ Linux as a Shielded VM ได้
  • รองรับการทำ Test Failover สำหรับ Storage Replica และบริหารจัดการผ่าน Project Honolulu ได้
  • ปิด SMBv1 และ Guest Authentication พร้อมรองรับ SMBv2/v3 ดีขึ้น
  • ทำ Data Deduplication บน ReFS ได้ พร้อมมี DataPort API
  • มี RDS ให้ใช้แล้วใน Azure AD

         ส่วนผู้ที่ต้องการใช้งานสามารถทำการติดตั้งใหม่แบบ Clean Install ได้เท่านั้น ไม่สามารถอัปเดตมาจาก Windows Server 2016 ที่มีอยู่เดิมได้ครับ โดยสามารถโหลด Image ได้ที่ https://www.microsoft.com/Licensing/servicecenter/default.aspx หรือรอใช้บน Microsoft Azure ก็ได้เช่นกันครับ

ที่มา : techtalkthai


Google ประกาศใช้งาน Google Chat เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสารภายในองค์กร
วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 มีการประกาศความสามารถใหม่สำหรับ Space Managers เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสนทนาใน Google Chat ในองค์กร ด้วยการกำหนดค่าพื้นท...
Google แจ้งยุติให้บริการ Google podcast หันไปทุ่มทุน YouTube Music เริ่ม 2024
Google ประกาศผ่านบล็อกโพสต์ของYouTube ว่าจะยุติการให้บริการ Google podcast ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป โดยทางบริษัทจะเพิ่มการลงทุนให้กับพอดแคสต์บน YouT...

Invoice
024609292
Line
Company