เตือน Magniber Ransomware ตัวใหม่ ต้นกำเนิดเดียวกับ Cerber

เตือน Magniber Ransomware ตัวใหม่ ต้นกำเนิดเดียวกับ Cerber

          Michael Gillespie นักวิจัยความมั่นคงปลอดภัยออกมาแจ้งเตือนถึง Ransomware ตัวใหม่หรือที่เรียกว่า Magniber ซึ่งน่าจะมีต้นกำเนิดมาจาก Cerber Ransomware ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้าที่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งโจมตีเหยื่อในเกาหลีใต้

          จากรายงานของ Trend Macro พบว่ามัลแวร์ตัวนี้ได้มีจุดประสงค์ เพื่อโจมตีผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศเกาหลีใต้ที่เข้าไปในหน้าเว็บไซต์ที่มีโฆษณาอันตรายแฝงอยู่ โดยนักวิจัยเชื่อว่าการที่ Magniber และ Cerber มีหน้าไซต์ในการจ่ายเงินที่เหมือนกันอาจจะทำให้ Ransomware สองตัวนี้มีความเชื่อมโยงกันอยู่บ้าง

เตือน Magniber Ransomware ตัวใหม่ ต้นกำเนิดเดียวกับ Cerber
credit : bleepingcomputer.com

          Magniber มีวิธีการเข้าหน้าจ่ายเงินที่เป็นของตัวเองคือมีการสร้าง ID ให้เหยื่อแต่ละรายแตกต่างกัน เมื่อศึกษาถึงกระบวนกระโจมนั้นพบว่า Magniber จะเข้าไปเช็คภาษาเครื่องก่อนว่าเป็นภาษาเกาหลีหรือไม่ ถ้าใช่มันถึงจะเริ่มทำงาน โดยการเข้ารหัสไฟล์ที่มีนามสกุลในกลุ่มเป้าหมายและต่อท้ายนามสุกลของไฟล์ด้วย .ihsdj หรือ .kgpvwnr ในขณะเข้ารหัสนั้น Magniber จะสร้างบันทึกชื่อ READ_ME_FOR_DECRYPT_[id].txt ในแต่ละโฟลเดอร์ที่ไฟล์ถูกเข้ารหัส ภายในเนื้อหานั้นจะมีลิงค์ URL สำหรับการจ่ายค่าไถ่อยู่ ซึ่งจะบอกขั้นตอนตั้งแต่การซื้อ Bitcoin และวิธีการจ่ายค่าไถ่ว่าต้องทำอย่างไร

เตือน Magniber Ransomware ตัวใหม่ ต้นกำเนิดเดียวกับ Cerber
credit : bleepingcomputer.com

วิธีการป้องกัน Magniber Ransomware

โชคดีที่ Ransomware ตัวนี้อาจจะถูกถอดรหัสแก้ไขได้ ดังนั้นก็อย่าไปหลงเชื่อเสียเงินให้แฮ็คเกอร์โดยเด็ดขาด (ดูวิธีแก้ไขได้ตาม ลิงค์นี้) อย่างไรก็ตามทางที่ดีที่สุดคือสร้างนิสัยการใช้งานคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ให้มั่นคงปลอดภัยดังนี้

  • สำรองข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน พร้อมทั้งตรวจสอบสม่ำเสมอว่าข้อมูลสามารถกู้คืนกลับมาได้เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกตเกิดขึ้น
  • หาโปรแกรมที่มีการตรวจจับมัลแวร์เชิงพฤติกรรมอย่าง Emsisoft Antimalware ,Malwarebytes หรือ HitmanPro Alert มาใช้งาน
  • อย่าเปิดไฟล์ที่ไม่น่าไว้วางใจจนกระทั่งพิสูจน์ได้ว่าคนนั้นสามารถเชื่อถือได้และตั้งใจส่งมาจริงๆ
  • ตั้งรหัสผ่านให้ยากและอย่านำกลับมาใช้ซ้ำอีกในเว็บไซต์อื่นๆ
  • หมั่นอัพเดตซอฟต์แวร์ให้ล่าสุดอยู่เสมอ เช่น Window ,Java ,Adobe Reader ,Flash หรือโปรแกรมอื่นๆ

ที่มา : techtalkthai


BiliScreen มะเร็งตับอ่อน ตรวจเจอก่อนด้วย App นี้
มะเร็งตับอ่อนถือว่าเป็นโรคที่เป็นแล้วอัตรารอดชีวิตค่อนข้างต่ำ สถิติในรอบ 5 ปีที่ผ่านมามีผู้ที่รอดชีวิตจากการรักษาแค่ 9% เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป...
ผลทดสอบชี้ Firefox 57 เวอร์ชันใหม่ทำงานเร็วกว่า Google Chrome
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ Google Chrome ถือเป็นเว็บเบราเซอร์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก จนค่อย ๆ ทิ้งห่างเบราเซอร์รายอื่น ๆ ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตา...
Kaspersky แจก antivirus ฟรีให้ใช้งานทั่วโลก
หลังจากใช้เวลาทดสอบถึงปีครึ่งในบางภูมิภาค ตอนนี้ Kaspersky ประกาศแจก antivirus เวอร์ชั่นฟรีให้ได้ใช้งานกันทั่วโลกแล้ว Kaspersky โปรแกรมแอนตี...

Invoice
024609292
Line
Company